การสืบค้นข้อมูล

การสืบค้นข้อมูลออนไลน์ (GIT Web OPAC) เป็นการให้บริการสืบค้นข้อมูลสื่อทุกประเภทที่ห้องสมุดทำรายการ ซึ่งสามารถเรียกดูรายละเอียดทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท อาทิ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ลักษณะของทรัพยากร สถานที่เก็บ และสถานะของสื่อ
คุณสามารถค้นหาทรัพยากรประเภทต่างๆ ตามรายการสืบค้นดังต่อไปนี้:
Title ชื่อเรื่อง
Author ชื่อผู้แต่ง
Subject หัวเรื่อง
Keyword คำสำคัญ
Abstract บทคัดย่อ
Barcode บาร์โค้ด
Call No. เลขหมู่
ISBN/ISSN เลขมาตรฐาน
Publisher สำนักพิมพ์
Main source ทรัพยากรหลัก

เริ่มต้นการใช้งานการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
โปรดเลือกระบุแนวสืบค้นตามที่ต้องการ "ชื่อเรื่อง", "หัวเรื่อง", "ผู้แต่ง", "เลขมาตรฐาน", "เลขเรียก", หรือ "สำนักพิมพ์" โดยพิมพ์คำที่ต้องการค้นหา เพื่อให้ค้นหารายการที่ขึ้นต้นด้วยคำที่ระบุ หรือ ใช้เครื่องหมาย % นำหน้า เพื่อค้นหาโดยไม่สนใจตำแหน่งของคำ และสามารถเลือกการสืบค้นแบบ Boulean Search โดยเลือกใช้ และ, หรือ ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างคำค้น "ชื่อเรื่อง" พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา Clothing and Jewelry
ตัวอย่างคำค้น "หัวเรื่อง" พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา Diamond
ตัวอย่างคำค้นตำแหน่งใดก็ได้ เพื่อค้นหาโดยไม่สนใจตำแหน่งของคำ %Jewelry หรือ %Jew

คำแนะนำ: การใส่เครื่องหมาย % นำหน้าคำที่ต้องการค้นหา โดยไม่สนใจตำแหน่งของคำ จะทำให้การสืบค้นง่ายขึ้น



การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ กลุ่มเครือข่ายย่อยของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร ภาพและเสียงได้ รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
บริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1. Word Wide Web (WWW หรือ Web)
2. FTP (Pile Transfer Protocol)
3. จุดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
4. การอ่านโฆษณาประชาสัมพันธ์
5. การซื้อสินค้าและบริการ
6. การสนทนาออนไลน์ (Chat)
7. การเล่นเกม
8. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
9. การดูโทรศัพท์และฟังเพลง
10. การดูโทรทัศน์และฟังเพลง
การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เราสามารถค้นหาสิ่งที่เราสนใจได้ใน World Wide Web หรือ WWW ซึ่งเป็นบริการข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่เก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มหาศาลในอินเทอร์เน็ตให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน และเชื่อโยงถึงกันได้ ใน WWW แต่ละแห่งจะจัดทำข้อมูลทั้งข้อความปกติ หรือแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น เมื่อข้าไปใช้บริการ WWW ในที่แห่งหนึ่งก็สามารถเชื่อมไปยัง WWW แห่งอื่นได้

การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine
ในโลกของอินเทอร์เน็ตข้อมูลมีมากมายเหลือเกิน ถ้าจะใช้เวลาในการอ่านทุกสิ่งบน เข้าไปค้นหาอินเทอร์เน็ตคงต้องใช้เวลานานหลายชั่วอายุคน จริง ๆ แล้วเราคงไม่มีความสนใจในทุกเรื่อง แต่คงสนใจเฉพาะเรื่องที่เราสนใจเท่านั้น จึงมีคนคิดเครื่องมือในการช่วยค้นหาข้อมูลที่ต้องการ นั้นก็คือ Search Engine
Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา Search Engine โดยทั่วไปมี 3 ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และการจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกัน เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกัน ทำให้โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้ คือ ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน โดยมีองค์ประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก 2. ซอฟแวร์ คือ เครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็กๆ ทำหน้าที่ในการตรวจหา และทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine
Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com

ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้สามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมากๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลือง ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ตัวอย่างเช่น
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory

1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org ) 2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษาHTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเองและอีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร



1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย

1. ต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ คือ
1.1 รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร
1.2 รู้ว่าแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลนั้น น่าจะเป็นหน่วยงานใด
1.3 รู้ว่าคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น มีอะไรบ้าง
2. ต้องรู้จักวิธีเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ
3. ต้องรู้จักวิธีใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล หรือ เซิร์จเอ็นจิน ( Search engine )
4. ต้องรู้จักใช้ดุลพินิจว่า
4.1 ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการหรือไม่
4.2 ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่

เอ๊ะ...เอ

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ